Welcome ยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558กลุ่มเรียน 104


                วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ




          วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
                  
กระดาษ  เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ    ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน  กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น    
               การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม        ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป

                   กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
              กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ






                   
                   สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
                  สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก


สีเทียน ( Caryon )   สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป  สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
     



สีชอล์กเทียน (oil pasteal) เกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก




สีเทียนพลาสติก (plastic crayon) ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็งระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ แต่มีราคาแพงมาก


สีเมจิก  (Water color)  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิดเหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง





ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ






ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป





ดินสอสี (color pencil)
หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็ก



วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ






ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
  1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
  2.   สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
          - สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น


      - สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ






ทฤษฎีสี (Theory of colors)

ขั้นที่ 1 

ขั้นที่ 2 





อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
         
  •    สีเหลือง         ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น          
  •    สีแดง   ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
  •     สีเขียว เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
  •    สีน้ำเงิน          เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ
  •    สีม่วง   เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
  •    สีส้ม    ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
  •    สีเหลือง   ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
  •     สีแดง   ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
  •     สีเขียว เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
  •    สีน้ำเงิน          เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
  •     สีม่วง   เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
  •      สีส้ม    ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น



วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



กิจกรรมในวันนี้


ต่อเติมจุดเป็นภาพ  สิ่งไม่มีชีวิต

ต่อเติมจุด  สิ่งที่มีชีวิต

          จากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนนำผลงานที่ตัวเองทำมาทั้งหมด 5 ชิ้น นำมาติดบนบร์อด อาจารย์จะได้อธิบายในแต่ละส่วนของงานชิ้นต่างๆ ว่ามันสำคัญอย่างไร และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างไร ในการทำผลงานศิลปะสร้างสรรค์ เราสามารถรู้ถึงความรู้สึกว่าแต่ละคนนั้นมีความคิดที่แต่ต่างกันไป ขึ้นอยู่ที่ความชอบ หรือ แรงบันดาลใจ แรงจูงใจ ฉะนั้นในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆก็ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล แต่ละคนมีความคิด การกระทำ หรือแสดงออกที่ต่างกันไป อยู่ที่ภูมิหลังของแต่ละคน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  •                    สามารถนำความรู้เกี่ยวกับศิลปะไปปรับใช้ในดารเรียนการสอน
  •                    นำความรู้ในเรื่องของทฤษฎีศิลปะมาใช้ในการสอนในอนาคต
  •                    ทำให้เข้าใจเด็กมากขึ้น  ได้รู้พัฒนาการของเด็กเพื่อในอนาคตข้างหน้าในวันที่สอนเด็กจะไดนำความรู้ส่วนนี้มาประยุกต์ในการออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก

                    
                    การประเมิน
                               ตนเอง  :  ตั้งใจออกแบบงานตามที่ได้รับมอบหมายในกิจกรรม  จัดวางแผนการสร้างสรรค์มือก่อนลงมือทำ  แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่ได้เป็นดั่งที่ตั้งใจแต่ก็พยายามทำอย่าเต็มที่  จดบันทึกความรู้ใหม่ที่นอกเหนือจากเอกสารเพิ่มเติม  มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  การแต่งกายถูกระเบียบ
                               เพื่อน  :  ทุกคนตั้งใจทำผลงานกันอย่างเต็มที่   ฟังและจดบันทึกเนื้อหาจากที่อาจารย์สอนเพิ่มเติม
                               อาจารย์  :  เตรียมความพร้อมในการสอน  จัดเตรียมเนื้อหาสาระความรู้มากมาย  จัดเตรียมอุปกรณ์ในการเรียนการสอนให้นักศึกษาทั้ง สี กระดาษ กบเหลาดินสอสีพร้อม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น