บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
ศิลปะ หมายถึง
งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย ความประณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา
และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ“
ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
- เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ
- เด็กมีความคิด จินตนาการ
- เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ที่บางครั้งไม่สามารถ พูด อธิบายได้
- เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
- เด็กต้องการกำลังใจ
การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
• เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
- ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
•
ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
- กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเอง
• ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
• ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
•
ทฤษฎีพัฒนาการ
- พัฒนาการทางศิลปะของ
โลเวนเฟลด์
• ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
(Guilford)
ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ตัวประกอบของสติปัญญา เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผล การแก้ปัญหา กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถ
ของสมองออกเป็น 3 มิติ คือ มิติที่ 1 เนื้อหา มิติที่ 2 วิธีการคิด มิติที่ 3 ผลของการคิด
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า
ประกอบด้วย ความคล่องแคล่วในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด ความริเริ่มในการคิด แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์
เป็น 5 ขั้น
- ขั้นการค้นพบความจริง
-ขั้นการค้นพบปัญหา
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นการค้นพบคำตอบ
- ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
- ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
เป็นทฤษฎีที่กำลังได้รับความสนใจ
เพราะเป็นการค้นพบความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ การทำงานของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย =
ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา =
ทำงานส่วนจินตนาการ
และความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา ( ศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์
) ทฤษฎีพหุปัญญา
จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านดนตรี ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกา ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
- ทฤษฎีโอตา (Auta)
เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan) ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน
และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่
การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย
และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน
ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นขีดเขี่ย ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ
และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
![]() |
ตัวอย่างผลงานเด็กปฐมวัย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น